งานประกันคุณภาพ
การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญยิ่งในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีคุณภาพ
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นหน่วยงานสำคัญ หน่วยงานหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน
ซึ่งเป็นภาระหน้าที่หลักประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา นอกจากการผลิตบัณฑิต จึงได้ดำเนินการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานของ
สำนักบริการวิชาการขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาการปฏิบัติงาน สำนักบริการวิชาการได้ดำเนินการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานตามนโยบายของ
มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จึงกำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ดังนี้
- 1. นโยบาย
- 1.1 พัฒนาระบบและกลไกการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด
โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการและการบริหารสำนักบริการวิชาการที่ต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
- 1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพในการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษามาตรฐานการดำเนินงานของสำนักบริการวิชาการ
- 1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมและมีส่วนรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมการประกันคุณภาพ สร้างวัฒนธรรมการประกันคุณภาพ โดยถือปฏิบัติเป็นหน้าที่ประจำของทุกคน
- 1.4 เปิดโอกาสให้หน่วยงาน และบุคลากรภายนอก ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักบริการวิชาการ และเผยแพร่ต่อสาธารณชน
เพื่อบริการวิชาการแก่ชุมชนของมหาวิทยาลัยบูรพาโดยให้สามารถนำความรู้ทางวิชาการ ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยบูรพาเผยแพร่สู่ชุมชน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการลดช่องว่างระหว่างมหาวิทยาลัย กับ ชุมชน ให้สามารถร่วมเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ที่อยู่ในชุมชน
และผู้ใช้บริการห้องพัก ห้องประชุม ได้รับความพึงพอใจจากการปฏิบัติงาน การบริการที่มีคุณภาพของสำนักบริการวิชาการ
- 3. มาตรการประกันคุณภาพของสำนักบริการวิชาการ
- 3.1 พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ และคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง
- 3.2 พัฒนางานที่ปฏิบัติทุกงานให้มีประสิทธิภาพ และคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง
- 3.3 สร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการที่พัก ห้องประชุมของสำนักบริการวิชาการ
- 3.4 พัฒนาระบบการประกันคุณภาพให้ได้มาตรฐาน และเหมาะสมกับธรรมชาติของสำนักบริการวิชาการ
- 3.5 เน้นให้บุคลากรของสำนักบริการวิชาการทุกคน ทุกระดับ มีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพ
- 4. วิธีดำเนินการประกันคุณภาพ
- 4.1 ศึกษา และ ทำความเข้าใจ การประกันคุณภาพ
- 4.2 แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพ
- 4.3 เลือกระบบคุณภาพมาใช้ในสำนักบริการวิชาการ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมอาศัยแนวทางของทบวงมหาวิทยาลัยและของมหาวิทยาลัยบูรพา
- 4.4 จัดทำคู่มือระบบการประกันคุณภาพของสำนักบริการวิชาการ
- 4.5 จัดทำเอกสารประกอบระบบคุณภาพ
- 4.6 กำหนดแนวทางปฏิบัติในการประกันคุณภาพสำหรับบุคลากรแต่ละคน แต่ละระดับ
- 4.7 สร้างระบบบันทึก และเก็บข้อมูลหลังจากลงมือปฏิบัติดำเนินการประกันคุณภาพ
- 4.8 จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) เมื่อพร้อมจะดำเนินการประเมิน
- 4.9 ดำเนินการประเมินคุณภาพระบบการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
- 4.10 แก้ไข ปรับปรุง หลังการประเมินคุณภาพ
รายงานการประเมินตนเองและคุณภาพการศึกษาภายใน
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา