สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
หน้าแรก | แก้ไขข้อมูล | หัวข้อล่าสุด | สมาชิก | ค้นหา | FAQ
Username:
Password:
Save Password
 All Forums
 รวมบทความวิชาการน่ารู้
 บทความรายการสุขภาพดี-ชีวีมีสุข
 จะดูแลตัวเองเพื่อรับมือ COVID-19 กับการระบาดใหม่
 ตั้งหัวข้อใหม่  ตอบกลับหัวข้อนี้
 พรินต์ส่งให้เพื่อน
Author Previous Topic Topic Next Topic  

admin
Forum Admin

6599 Posts

Posted - 14 Jan 2021 :  10:14:10  Show Profile  Click to see admin's MSN Messenger address  Reply with Quote
ปีงบประมาณ 2564

จะดูแลตัวเองเพื่อรับมือ COVID-19 กับการระบาดใหม่ได้อย่างไร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภา วิเสโส


          สวัสดีค่ะท่านผู้ฟังรายการ “สุขภาพดีชีวีมีสุข” วันนี้คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอเสนอเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ในตอนที่มีชื่อว่า “จะดูแลตัวเองเพื่อรับมือ COVID-19 กับการระบาดใหม่ได้อย่างไร” ซึ่งจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-ไนน์ทีนที่ในขณะนี้กลับมาระบาดใหม่อีกครั้ง และมีแนวโน้มว่าอาจจะมีการระบาดจนทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ทำให้ใครหลายคนเป็นกังวล และคอยติดตามข่าวสารกันอยู่ตลอดถึงจำนวนผู้ติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงการป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากการติดเชื้ออันตรายนี้ เรามาลองฟังดูนะคะว่าจะดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับโรคระบาดที่ร้ายแรงนี้ได้อย่างไร
          ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคระบาดนี้กันก่อนนะคะ ว่าไวรัสโคโรนา หรือโควิด-ไนน์ทีน คืออะไร ไวัรสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ในมนุษย์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” ซึ่งในเวลาต่อมาองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศตั้งชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า “โควิด-ไนน์ทีน (COVID-19)”
          การระบาดของโควิด-ไนน์ทีนนั้นเริ่มต้นที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ต่อมาได้พบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศทั่วโลก จำนวนผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดได้ ซึ่งในขณะนี้การแพร่ระบาดได้ขยายวงกว้างออกไปทั่วโลก และมีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการเดินทางเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งของการแพร่กระจายเชื้อจากพื้นที่หนึ่งสู่พื้นที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ปัจจัยด้านเชื้อก่อโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน ผ่านการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย เข้าสู่ร่างกาย และการสัมผัสใกล้ชิด ก็เป็นวิธีการแพร่เชื้อที่เกิดขึ้นได้ง่าย หากไม่ป้องกัน
          โดยอาการป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด-ไนน์ทีนนั้น เริ่มจากมีอาการไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น ไอจาม มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ แม้ว่าอาการโดยทั่วไปจะดูเหมือนเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ที่กลัวกันทั่วโลกเป็นเพราะเชื้อไวรัสนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มียาใดที่สามารถรักษาให้หายได้โดยตรง การรักษาเป็นไปแบบประคับประคองตามอาการเท่านั้น นอกจากนี้ อันตรายที่ทำให้เสี่ยงถึงชีวิต จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานโรคไม่แข็งแรง หรือเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายการทำงานของปอดได้ จนทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายลุกลามมากขึ้น ทางด้านการแพทย์อาจจะตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยการเอกซ์เรย์ปอด แล้วพบว่าปอดบวมอักเสบร่วมด้วย ซึ่งอาการรุนแรงที่สุดที่พบจากโควิด-ไนน์ทีน คือ อาการปอดอักเสบ หากมีอาการหนักมากๆ พบว่าการติดเชื้อในระยะหลังๆ อาจอันตรายถึงอวัยวะภายในต่างๆ ล้มเหลว อันนำไปสู่การเสียชีวิต โดยความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันตามความแข็งแรงของแต่ละคน วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่อาจจะมีอาการน้อยกว่าผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-ไนน์ทีนได้แก่ เด็กเล็ก วัยกลางคนจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรัง คนที่กินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่ เป็นต้น รวมทั้งผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ระบาด ภายใน 14 วันก่อนเริ่มมีอาการป่วย
          สำหรับการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-ไนน์ทีน สิ่งที่สำคัญ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดหรือเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ เว้นระยะห่างทางสังคม โดยอยู่ห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาดและอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่างๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได เป็นต้น และเมื่อจับแล้วอย่านำมือมาสัมผัสบริเวณใบหน้า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ นอกจากนี้ หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% โดยไม่ผสมน้ำ อย่างน้อย 20 วินาที และไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ อุปกรณ์การรับประทานอาหาร เป็นต้น รวมทั้งรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ สะอาด และใช้ช้อนกลางส่วนตัว นอกจากนี้ หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะหากอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อหรือเพิ่งเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด ซึ่งควรกักบริเวณในพื้นที่ส่วนตัวของตัวเองเป็นเวลา 14 วัน ถ้าหากมีไข้ มีอาการระบบทางเดินหายใจ ต้องรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางด้วย ไม่ปิดบัง ไม่บิดเบือนข้อมูลใดๆ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องมากที่สุด
          สุดท้ายนี้ ขอความร่วมมือให้ทุกท่านปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการระบาดที่ทางราชการประกาศอย่างเคร่งครัด เราก็จะรอดพ้นจากการติดเชื้อเจ้าไวรัสตัวร้ายนี้ได้ รวมทั้งติดตามสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารได้ที่เวปไซด์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข www.ddc.moph.go.th หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง อย่าเชื่อข่าวลือจากทุกช่องทาง และเช็คก่อนแชร์นะคะ สำหรับวันนี้หมดเวลาของรายการแล้ว พบกันใหม่ในโอกาสหน้า สวัสดีค่ะ

บรรณานุกรม
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรมควบคุมโรค. วันที่สืบค้นข้อมูล 28 ธันวาคม 2563 เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
โควิด-19 คืออะไร. วันที่สืบค้นข้อมูล 28 ธันวาคม 2563 เข้าถึงได้จาก https://www.pptvhd36.com/news
ไวรัสโควิด-19 (ไวรัสโคโรนา) vs ไข้หวัดธรรมดา ต่างกันอย่างไร. วันที่สืบค้นข้อมูล 28 ธันวาคม 2563 เข้าถึงได้จาก https://www.sanook.com/health
ไวรัสโคโรนา : อนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็น “การระบาดใหญ่” ทั่วโลก. วันที่สืบค้นข้อมูล 28 ธันวาคม 2563 เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/international
‘Pandemic’ แปลว่าอะไร หลังจาก WHO ยกระดับโรค COVID-19 แล้วจะเกิดอะไรขึ้น. วันที่สืบค้นข้อมูล 28 ธันวาคม เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870455
  Previous Topic Topic Next Topic  
 ตั้งหัวข้อใหม่  ตอบกลับหัวข้อนี้
 พรินต์ส่งให้เพื่อน
Jump To:
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา © สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา Go To Top Of Page
This page was generated in 0.13 seconds. Snitz Forums 2000