สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
หน้าแรก | แก้ไขข้อมูล | หัวข้อล่าสุด | สมาชิก | ค้นหา | FAQ
Username:
Password:
Save Password
 All Forums
 รวมบทความวิชาการน่ารู้
 บทความรายการสุขภาพดีมีสุข
 การยศาสตร์ในสำนักงาน
 ตั้งหัวข้อใหม่  ตอบกลับหัวข้อนี้
 พรินต์ส่งให้เพื่อน
Author Previous Topic Topic Next Topic  

admin
Forum Admin

6599 Posts

Posted - 23 Sep 2019 :  16:25:24  Show Profile  Click to see admin's MSN Messenger address  Reply with Quote
ปีงบประมาณ 2562


การยศาสตร์ในสำนักงาน
เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์


กดปุ่ม > เพื่อเล่นไฟล์เสียง


         งานในสำนักงานมีความหลายหลายในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งงานที่ต้องใช้ทักษะและความรู้ระดับสูงในการปฏิบัติงาน แม้ว่าจะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ต่ำแต่สัดส่วนของพนักงานในสำนักงานที่มีขนาดใหญ่และกำลังเติบโต กลับมีจำนวนพนักงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาหลักของการยศาสตร์ในสำนักงาน คือ พนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์จะมีปัญหาสุขภาพที่มากกว่างานอื่น ๆ ในสำนักงาน ซึ่งการแก้ไขปัญหาการยศาสตร์ในสำนักงานนี้ คือทุกอย่างต้องเหมาะสมกันระหว่างคนกับงาน ดังนั้น การจัดสภาพการทำงานในสำนักงานให้เหมาะสมกับพนักงาน โดยให้ความสำคัญในการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์เพื่อลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
         การยศาสตร์ในสำนักงาน (Ergonomics in office work อ่านว่า เออร์กอนอมิค อิน ออฟฟิศ เวิร์ค) คือ การจัดสภาพการทำงานในสำนักงานให้เหมาะสมกับพนักงาน โดยให้ความสำคัญในการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ โดยกล่าวถึงลักษณะท่าทางการทำงานที่เหมาะสมกับสรีระ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงท่าทางที่สามารถก่อให้เกิดอันตราย ได้แก่ การโน้มตัวไปข้างหน้า การยืดแขนมากเกินไป การนั่งเก้าอี้ที่ต่ำหรือสูงเกินไป เป็นต้น โดยมีปัญหาหลักคือ พนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์จะมีท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ปวดกระดูกสันหลัง และ ไม่สบายตัว การล้าสายตา ความเมื่อยล้า ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากกว่าครึ่งของปัญหาสุขภาพอื่นๆ โดยปัญหาเกี่ยวกับ ท่าทางของคนทำงานจะขึ้นกับสภาวะของสถานที่ทำงาน ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกอย่างต้องเหมาะสมกันระหว่างคนกับงาน จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยสุขภาพอนามัยดี และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์จะมีส่วนแสดงผลของระบบคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า Visual Display Terminal (VDT) หมายถึง อุปกรณ์ส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้แสดงผลข้อมูลให้เห็นบนจอแสดง โดยผู้ที่ปฏิบัติงานกับ VDT จะทำงานประเภทต่าง ๆ แตกต่างกันไป โดยจะมีแนวทางในการจัดสภาพงานในการปฏิบัติงานกับ VDT สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน ดังนี้ 1. แนวทางจัดสภาพงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ปฏิบัติงาน เช่น ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการตรวจสายตา ก่อนเข้าทำงานกับ VDT และผู้ปฏิบัติงานที่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ควรได้รับการตรวจวัดสายตาซ้ำอย่างน้อยทุกๆ 5 ปี เป็นต้น 2. แนวทางการจัดสภาพงานในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่อง VDT เช่น ที่จอแสดงภาพต้องไม่ให้มีภาวะที่เกิดแสงริบหรี่ ข้อมูลที่แสดงบนจอภาพต้องปรับให้มีความคมชัดอยู่เสมอ จอแสดงภาพต้องสามารถปรับมุมก้มเงย เอียงได้ ตำแหน่งของจอภาพควรอยู่ข้างหน้า และมีมุมไม่เกิน 35 องศา จากซ้ายไปขวา เนื่องจากการทำงานที่ศีรษะต้องหมุนไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานานเพื่อเพิ่มความเมื่อยล้าและความเจ็บปวดต่อกล้ามเนื้อ 3. แนวทางจัดสภาพงานในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ปฏิบัติงาน เช่น การมองเห็นข้อความในเอกสารให้ชัดเจนขึ้น และสายตาไม่ต้องเพ่งมาก ควรยกเอกสารขึ้นให้เหมาะกับระดับสายตาให้เหมาะสมกับระดับสายตา รวมทั้งควรวางเอกสารทางด้านหน้าโดยอาจมีอุปกรณ์รองรับที่สามารถปรับระดับได้และมีเนื้อที่วางอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเพียงพอ และอยู่ในระยะที่มือเอื้อมถึง เป็นต้น 4. แนวทางจัดสภาพงานเกี่ยวกับระยะเวลาในการทำงาน ช่วงระยะเวลาในการทำงานกับ VDT ควรแบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ 2 ช่วงเช้า และ 2 ช่วงบ่าย แต่ละช่วงจัดให้มีการหยุดพักประมาณ 10 – 15 นาที ยกเว้นพักเที่ยง ซึ่งควรมีระยะเวลาประมาณ 45 นาที เป็นอย่างน้อย
         การทำงานในสำนักงานถึงแม้ว่าจะดูไม่หนักแต่ก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพและการที่มีท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสมหรือเคลื่อนไหวซ้ำซากเป็นประจำสิ่งเหล่านี้ส่งผลเพิ่มความเครียดต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ การจัดสภาพการทำงานที่ดีในการทำงานสำนักงานจะช่วยลดอันตรายและความเสี่ยงในการบาดเจ็บจาการทำงาน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และในปัจจุบันมีนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการจัดสภาพการทำงานตามหลักการยศาสตร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ที่จะให้คำแนะนำในการจัดสภาพการทำงานให้เหมาะสมและเวลาพักที่เหมาะสมกับการการทำงาน

แหล่งอ้างอิง
Ergonomics in Office Work. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://oshwiki.eu/wiki/Ergonomics_in_Office_Work (วันที่สืบค้นข้อมูล : 6 มิถุนายน 2562)
OFFICE ERGONOMICS การยศาสตร์ในสำนักงาน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :
http://www.doctor-bee.net/2015/08/office-ergonomics.html?fbclid=IwAR3lPP-bEaQUlNcoA52DeMvDPfQeoHM0f2m-H5uRjyg2T8vXaksCnPcUIsE (วันที่สืบค้นข้อมูล : 6 มิถุนายน 2562)
การยศาสตร์ในสำนักงาน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://jorpor9.files.wordpress.com/2012/03/e0b889-e0b881e0b8b2e0b8a3e0b8a2e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98ce0b983e0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b897e0b8b3e0b887e0b8b2e0b899-new2.pdf+&cd=7&hl=th&ct=clnk&gl=th (วันที่สืบค้นข้อมูล : 6 มิถุนายน 2562)
  Previous Topic Topic Next Topic  
 ตั้งหัวข้อใหม่  ตอบกลับหัวข้อนี้
 พรินต์ส่งให้เพื่อน
Jump To:
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา © สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา Go To Top Of Page
This page was generated in 0.13 seconds. Snitz Forums 2000