สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
หน้าแรก | แก้ไขข้อมูล | หัวข้อล่าสุด | สมาชิก | ค้นหา | FAQ
Username:
Password:
Save Password
 All Forums
 รวมบทความวิชาการน่ารู้
 บทความรายการวิทยาศาสตร์เพื่อประชาชน
 อาณานิคมอวกาศ
 ตั้งหัวข้อใหม่  ตอบกลับหัวข้อนี้
 พรินต์ส่งให้เพื่อน
Author  Topic Next Topic  

admin
Forum Admin

6599 Posts

Posted - 23 Sep 2019 :  15:56:17  Show Profile  Click to see admin's MSN Messenger address  Reply with Quote
ปีงบประมาณ 2562


อาณานิคมอวกาศ
สุนทรต์ ชูลักษณ์


กดปุ่ม > เพื่อเล่นไฟล์เสียง


         สวัสดีครับท่านผู้ฟังทุกท่าน วันนี้เราจะมารับฟังถึงเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “อาณานิคมอวกาศ” กันนะครับ ท่านผู้ฟังหลายๆท่านคงสงสัยว่า เจ้า “อาณานิคมอวกาศ” เนี่ย มันคืออะไร หรือบางท่านอาจจะคุ้นเคยชื่อนี้มาจากหนังสือแนววิทยาศาสตร์ หรือในการ์ตูนต่างๆ ทั้งนี้อาณานิคมอวกาศนั้นมีอะไรที่น่าสนใจ มีความเป็นไปได้มากหรือน้อยเพียงใด และจะมาเกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์กับมนุษย์อย่างเราๆ อย่างไรได้บ้าง เดี่ยวผมจะเล่าให้ทุกท่านฟังครับ
         หลายๆท่านคงตระหนักดีว่า ปัจจุบันโลกของเราประสบปัญหาหลายอย่างที่ส่งผลกระทบอย่างมากกับสิ่งแวดล้อม เช่นการเพิ่มจำนวนของประชากรที่ไร้การควบคุมโดยการเติบโตของประชากรมนุษย์ ส่งผลให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามที่จะลดอัตราการเติบโตของประชากร แต่ทุกวันนี้ยังคงมีการเพิ่มจำนวนของผู้คนบนโลกนี้มากกว่า 200,000 คน/วัน และยังส่งผลให้การสร้างและปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงแหล่งสสารและพลังงานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตนั้น ขาดการดูแลและวางแผนอย่างเป็นระบบทั้งในด้านการจัดหา การเก็บรักษา การซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้หมดลงอย่างรวดเร็ว มีรายงานว่ามีความต้องการใช้ทรัพยากรของโลกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2539 ซึ่งปัจจุบัน มนุษย์เรามีการใช้ทรัพยากรเกินกว่าที่โลกจะตอบสนองให้ได้ถึง 1.5 เท่า และถ้าสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆแล้วนั้น ภายในปี พ.ศ. 2573 มนุษย์จะใช้ทรัพยากรเทียบเท่ากับปริมาณความต้องการทรัพยากรจากโลกถึง 2 ใบด้วยกัน
         สิ่งเหล่านี้จัดเป็นปัญหาอันใหญ่หลวงสำหรับมนุษย์และหนึ่งในความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของของเราคือมีการใช้ทรัพยากรของโลกที่เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆเพื่อรักษาวิถีชีวิตของเรา แต่ปัจจุบันหลายๆประเทศเปลี่ยนแปลงตนเองจากประเทศแห่งการเกษตรกรรมสู่ประเทศอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่ามาตรฐานชีวิตรวมถึงรายได้โดยรวมของพวกเขาจะดีขึ้น แต่มันก็ทำให้ผู้คนจำนวนมากมายจะต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงแหล่งอาหารและทรัพยากรธรรมชาติอันมีจำกัด
         นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าอย่างช้าภายในศตวรรษที่ 25 มนุษยชาติจะต้องละทิ้งโลกเพราะจะไม่สามารถใช้เป็นถิ่นที่อยู่ได้อีกต่อไปแล้ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์เอง และทำให้ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา (NASA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ในระยะยาวของสหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มโครงการ อาณานิคมอวกาศ หรือ สเปซโคโลนี (space colony project) ด้วยความพยายามที่จะค้นหาดาวเคราะห์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นที่อยู่อาศัยใหม่ของมนุษย์ เริ่มจากการศึกษาการใช้ชีวิตของมนุษย์ในห้วงอวกาศ โดยส่งนักบินอวกาศขึ้นไปกับยานอวกาศที่โคจรรอบโลกและได้ทำการค้นคว้าและพัฒนาถึงความเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและจริงจังเป็นเวลาหลายปี และยังมีการก่อตั้งสถานีอวกาศนานาชาติ (International space station) ซึ่งเป็นสถานีอวกาศหรือดาวเทียมที่อาศัยอยู่ในวงโคจรของโลกที่ต่ำ เข้าสู่วงโคจรในปี พ.ศ. 2541 โดยมีผู้อยู่อาศัยระยะยาวคนแรกที่เดินทางมาถึงในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2543 ในปัจจุบัน สถานีอวกาศนานาชาติทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยสภาวะไร้น้ำหนักและและสภาวะต่างๆในอวกาศ โดยมีการทดลองทางชีววิทยา ชีววิทยาของมนุษย์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์และสาขาอื่น ๆเพื่อนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการพัฒนาอาณานิคมอวกาศ
         การย้ายมนุษย์จากโลกใบนี้ไปอาศัยในอาณานิคมอวกาศอาจจะเป็นทางออกสำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญอยู่ แต่ยังมีอุปสรรคอีกหลายอย่างที่เราต้องก้าวข้ามไปให้ได้ ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น เช่นปัญหาทางการแพทย์และสุขภาพที่เกิดภายใต้สภาวะไร้น้ำหนัก หรือการแผ่รังสีพลังงานสูงซึ่งนักบินอวกาศต้องเผชิญหลังจากออกจากชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างมากถ้าถอดชุดนักบินอวกาศออก และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนด้านสุขภาพทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวเป็นต้น ซึ่งปัญหาทางการแพทย์และสุขภาพนั้นถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะผู้ที่จะเข้าอยู่อาศัยในอาณานิคมอวกาศจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตัวอย่างเช่นในการศึกษาของ NASA พบว่า ในสภาวะที่ปราศจากแรงโน้มถ่วงกระดูกของคนเราจะสูญเสียแร่ธาตุซึ่งจะก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนตามมา เป็นต้น
         อย่างไรก็ตามการอยู่อาศัยในอาณานิคมอวกาศนั้นก็มีข้อดีหลายประการเช่นเราสามารถที่จะสร้างดาวเทียมพลังงานแสงที่เพื่อใช้ทดแทนแทนที่โรงไฟฟ้าบนโลก อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบมากมายที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่นพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีอย่างไม่จำกัด แรงโน้มถ่วงในที่แตกต่างออกไป ทำให้เรา สร้างผลิตภัณฑ์ที่เราไม่สามารถทำได้ในขณะที่อยู่ในชั้นบรรยากาศและแรงโน้มถ่วงโลก แทนที่จะสร้างอุตสาหกรรมแบบเดิมที่ก่อมลพิษต่อโลกเป็นต้น โดยภายในอาคารที่อยู่อาศัยบนอาณานิคมอวกาศจะมีการพัฒนาระบบต่างๆให้เหมาะสมต่อการการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่นจำลองชั้นบรรยากาศรวมถึงแรงโน้มถ่วงที่เหมาะสม มีการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์จนมนุษย์สามารถดื่มได้ ระบบรีไซเคิลขยะหรือเผาทำลายขยะอย่างสมบูรณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหามลภาวะเป็นพิษ ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆที่กล่าวมายังต้องใช้เงินจำนวนมากและต้องการระยะเวลาในการพัฒนาอีกนานพอสมควร
         ณ ตอนนี้ยังไม่มีการสร้างอาณานิคมของอวกาศขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่าง แต่การศึกษาถึงความเป็นไปได้นั้นมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างอาณานิคมอวกาศที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดคือสร้างบนดวงจันทร์และบนดาวอังคาร และการสร้างอาณานิคมของอวกาศจะเป็นความท้าทายด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจอันยิ่งใหญ่ การนำมนุษย์จำนวนมากมายย้ายไปตั้งถิ่นฐานในอวกาศในสภาพแวดล้อมในอวกาศที่แตกต่างและเป็นอันตรายกับชีวิตมนุษย์นั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน มนุษย์จะมีพฤติกรรมและเจริญเติบโตในสถานที่ดังกล่าวในระยะยาวได้อย่างไร จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบที่ชัดเจนอยู่
         มีท่านผู้ฟังท่านใดอยากจะย้ายไปอาศัยในอาณานิคมอวกาศบ้างมั้ยครับ มาถึงตอนนี้คงไม่มีใครที่คิดว่า อาณานิคมอวกาศเป็นแค่เรื่องเล่าสนุกๆในนิยายหรือภาพยนตร์วิทยาศาสตร์อีกต่อไปแล้วนะครับ หากแต่จะเป็นแนวทางสุดท้ายในการแก้ปัญหาเมื่อโลกไม่อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยอีกต่อไป และที่สำคัญ นี่เป็นปัญหาที่มนุษย์ก่อขึ้นเองและต้องเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับผลที่จะตามมา ไม่ช้าก็เร็ว

เอกสารอ้างอิง
West, Larry. "Global Population and the Environment." ThoughtCo. Retrieved May
23, 2019, from
thoughtco.com/population-growth-and-environmental-problems-1203586.
WWF (2018) Living Planet Report 2018: Aiming higher (eds. Grooten N & Almond
REA). WWF, Gland, Switzerland.
NASA HQ Library. " Space Colonization". NASA. Retrieved 25 June 2019, from
(https://www.hq.nasa.gov/office/hqlibrary/pathfinders/colony.htm) Retrieved
NASA HQ Library. " International Space Station". NASA. Retrieved 25 June 2019, from (https://www.hq.nasa.gov/office/hqlibrary/pathfinders/iss.htm)
Space Settlement Basics by Al Globus, NASA Ames Research Center. Retrieved 25
June 2019, from (https://settlement.arc.nasa.gov/Basics/wwwwh.html).
   Topic Next Topic  
 ตั้งหัวข้อใหม่  ตอบกลับหัวข้อนี้
 พรินต์ส่งให้เพื่อน
Jump To:
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา © สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา Go To Top Of Page
This page was generated in 0.15 seconds. Snitz Forums 2000