สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
หน้าแรก | แก้ไขข้อมูล | หัวข้อล่าสุด | สมาชิก | ค้นหา | FAQ
Username:
Password:
Save Password
 All Forums
 รวมบทความวิชาการน่ารู้
 บทความรายการสุขภาพดีมีสุข
 เพชรสังฆาต พิฆาตริดสีดวงทวาร

คำแนะนำ : คุณต้องลงทะเบียนก่อนจึงจะสามารถโพสได้ครับ

Screensize:
UserName:
Password:
Format Mode:
Format: BoldItalicizedUnderlineStrikethrough Align LeftCenteredAlign Right Horizontal Rule Insert HyperlinkInsert Email Insert CodeInsert QuoteInsert ListInsert MP3 File
   
Message:

* HTML is OFF
* Forum Code is ON
Smilies
Smile [:)] Big Smile [:D] Cool [8D] Blush [:I]
Tongue [:P] Evil [):] Wink [;)] Clown [:o)]
Black Eye [B)] Eight Ball [8] Frown [:(] Shy [8)]
Shocked [:0] Angry [:(!] Dead [xx(] Sleepy [|)]
Kisses [:X] Approve [^] Disapprove [V] Question [?]

  Check here to include your profile signature.
    

T O P I C    R E V I E W
admin Posted - 23 Sep 2019 : 14:46:37
ปีงบประมาณ 2562


เพชรสังฆาต พิฆาตริดสีดวงทวาร
นันทนาวดี บุญขวัญ


กดปุ่ม > เพื่อเล่นไฟล์เสียง


         เพชรสังฆาตเป็นไม้ประดับที่เราเห็นกันจนชินตา แต่อย่าเพิ่งสบประมาทว่าเพชรสังฆาตเป็นเพียงแค่ไม้ประดับถ้ายังไม่ได้รู้ถึงสรรพคุณ เพราะเพชรสังฆาตมีสรรพคุณดีๆที่ซุกซ่อนอยู่อย่างคาดไม่ถึงโดยเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายนับไม่ถ้วน หลายคนอาจจะปลูกเพชรสังฆาตเอาไว้เป็นไม้ประดับในบ้าน แต่กลับไม่รู้เลยว่าภายใต้ความสวยงามที่แปลกตานั้นมีประโยชน์มากมายเพียงใด ฉะนั้นเราลองหันมาสนใจทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้กันเลย
         เพชรสังฆาตนั้นมีลักษณะเป็นไม้เถาทรงสี่เหลี่ยมเป็นข้อปล้องต่อกัน เปลือกเถาเรียบสีเขียวอ่อน ขนาดของปล้องแต่ละปล้องยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร มีมือสำหรับเกาะยึดยื่นออกมาจากตรงข้อระหว่างเป็นใบเดี่ยวปลายใบมนโคนใบเว้าขอบใบหยักมนห่างๆ แผ่นใบเรียบมันสีเขียวสด โดยปกติแล้วมักนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ เนื่องจากเป็นพืชที่มีรูปร่างแปลกตาและมีดอกช่อสีแดงสวยงาม นอกจากเพชรสังฆาตจะเป็นไม้ประดับที่มีความสวยงามแล้ว ประโยชน์ของเพชรสังฆาตที่โดดเด่นก็คงหนีไม่พ้นการใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร เพราะเพชรสังฆาตอุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยส่งเสริมกระบวนการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยลดอาการอักเสบ รวมทั้งช่วยให้หลอดเลือดดำหดตัวลงได้ ซึ่งสำหรับคนที่เป็นโรคริดสีดวงทวารจะเกิดภาวะเลือดดำคั่งจนทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก การรับประทานเพชรสังฆาตจึงช่วยบรรเทาอาการได้ รวมทั้งรักษาอาการอักเสบและทำให้หลอดเลือดดำที่บวมเป่งอยู่บริเวณทวารหนักหดตัวลงได้ ทั้งนี้มีการศึกษาจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้ยืนยันถึงข้อดีของการใช้สมุนไพรเพชรสังฆาตในการรักษาโรคริดสีดวงทวารว่า สรรพคุณเพชรสังฆาตมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน
และยังมีงานวิจัยพบว่าแคปซูลเพชรสังฆาตสามารถใช้ทดแทนยาดาฟลอนในการรักษาโรคริดสีดวงทวารได้เป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันเพชรสังฆาตยังถูกใช้เป็นยารักษาหลักในผู้ป่วยริดสีดวงทวารหนักตามโรงพยาบาลต่างๆอีกด้วย วิธีใช้เพชรสังฆาตเป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ให้ใช้เถาเพชรสังฆาตสดๆ ประมาณ 2-3 องคุลี รับประทานก่อนอาหารโดยนำมาสอดใส่ในกล้วยสุกหรือมะขามเปียกหรือใบผักกาดดองแล้วกลืนลงไปห้ามเคี้ยว เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้จะมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตเป็นจำนวนมาก การรับประทานสดๆอาจทำให้เกิดอาการคันในปาก เกิดการระคายเคืองที่คอและเยื่อบุในปากได้ หรือจะใช้เถาแห้งนำมาบดเป็นผง ใส่แคปซูลขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและก่อนนอน
การรับประทานเพชรสังฆาตจะใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน อาการของโรคริดสีดวงทวารก็จะดีขึ้น อย่างไรก็ตามประโยชน์ของเพชรสังฆาตใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะในเถาของเพชรสังฆาตนั้นมีสารแคลเซียมออกซาเลทสูง หากรับประทานเข้าไปมากเกินพอดีอาจทำให้เกิดการตกค้างซึ่งอาจส่งผลให้เกิดนิ่วได้
         ถึงแม้ว่าเพชรสังฆาตจะมีสรรพคุณดีในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร แต่ใช่ว่าจะรักษาริดสีดวงทวารได้หายขาดเสมอไป อาการจะหายช้าหรือเร็วยังขึ้นอยู่กับว่าเป็นมากหรือน้อย รวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยว่ารับประทานผัก ผลไม้หรืออาหารที่มีเส้นใยมากน้อยแค่ไหน และสำหรับผู้ที่เป็นมากไม่ว่าจะเพชรสังฆาตหรือยาดาฟลอนก็จะช่วยแค่บรรเทาอาการของโรคเท่านั้น สุดท้ายก็ต้องผ่าตัดออกจึงจะหาย เมื่อเราได้เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของเพชรสังฆาตกันไปแล้ว ถ้าใครที่มีสมุนไพรชนิดนี้อยู่ที่บ้านก็อย่าลืมแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารใช้กัน แต่ที่สำคัญคือต้องรู้วิธีใช้และใช้ในปริมาณที่ถูกต้องไม่อย่างนั้นแทนที่จะได้ผลดี อาจจะได้ผลเสียกลับมาแทน

แหล่งอ้างอิง
เพชรสังฆาต ยาริดสีดวงชาวบ้าน โรงพยาบาลยอมรับ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.matichonacademy.com/content/health/article_24226. (วันที่ค้นข้อมูล: 13 มิถุนายน 2562).
เพชรสังฆาต สรรพคุณและประโยชน์ของเพชรสังฆาต 11 ข้อ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://medthai.com/เพชรสังฆาต. (วันที่ค้นข้อมูล: 14 มิถุนายน 2562).
เพชรสังฆาต “สมุนไพรใส่สูท” มือสังหารริดสีดวง ช่วยสมานกระดูก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.sentangsedtee.com/health-beauty/article_93417. (วันที่ค้นข้อมูล: 14 มิถุนายน 2562).

สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา © สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา Go To Top Of Page
This page was generated in 0.14 seconds. Snitz Forums 2000